Learning media 9

วันนี้อาจารย์อธิบายรายละเอียดและกระบวนการจักกิจกรรมให้เด็กดังนี้
สาระการที่ควรเรียนรู้
เด็กช่วงอายุ 2 – 3 ปี เน้นการจัดประสบการณ์ผ่านการเล่นตามธรรมชาติที่เหมาะสมกับวัยอย่างเป็นองค์รวม ทั้งทางด้านร่างกาย อารมณ์ จิตใจ สังคม และสติปัญญา โดยจัดกิจกรรรมให้สอดคล้องกับความต้องการ ความสนใจ และความสามารถตามวัยของเด็ก ทั้งนี้ เด็กในช่วงวัยนี้จะมีพัฒนาการเพิ่มขึ้นมากกว่าในช่วงแรก เด็กมีการพึ่งพาตนเอง แสดงความเป็นตัวของตัวเอง จึงจำเป็นต้องคำนึงถึงสาระการเรียนรู้ที่ประกอบด้วยประสบการณ์สำคัญและสาระที่ควรเรียนรู้ ตลอดจนส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรมเพื่อเป็นพื้นฐานการเรียนรู้ในระดับที่สูงขึ้นไป
1.) เรื่องราวเกี่ยวกับตัวเด็ก เด็กควรเรียนรู้เกี่ยวกับชื่อและเพศของตนเอง การเรียกชื่อส่วนต่างๆ ของใบหน้าและร่างกาย การดูแลตนเองเบื้องต้นโดยมีผู้ใหญ่ให้การช่วยเหลือ การล้างมือ การขับถ่าย การรับประทานอาหาร การถอดและสวมใส่เสื้อผ้า การรักษาความปลอดภัย และการนอนหลับพักผ่อน
2.) เรื่องราวเกี่ยวกับบุคคลและสถานที่แวดล้อมเด็ก เด็กควรเรียนรู้เกี่ยวกับบุคคลภายในครอบครัวและบุคคลภายนอกครอบครัว การรู้จักชื่อเรียกหรือสรรพนามแทนตัวของญาติหรือผู้เลี้ยงดู วิธีปฏิบัติกับผู้อื่นอย่างเหมาะสม การทักทายด้วยการไหว้ การเล่นกับพี่น้องในบ้าน การไปเที่ยวตลาดและสถานที่ต่างๆ ในชุมชน การเล่นที่สนามเด็กเล่น การเข้าร่วมกิจกรรมทางศาสนา วัฒนธรรม และประเพณี
3.) ธรรมชาติรอบตัว เด็กควรเรียนรู้เกี่ยวกับการสำรวจสิ่งต่างๆ ในธรรมชาติรอบตัว เช่น สัตว์ พืช ดอกไม้ ใบไม้ ผ่านการใช้ประสาทสัมผัสทั้งห้า การเล่นน้ำเล่นทราย การเลี้ยงสัตว์ต่างๆ ที่ไม่เป็นอันตราย การเดินเล่นในสวน การเพาะปลูกอย่างง่าย แนวคิดที่ควรให้เกิดหลังจากเด็กเรียนรู้ธรรมชาติรอบตัว
ต่อมาอาจารย์ได้ให้เพื่อนๆที่อัดคลิปวีดีโอการทดลองวิทยาศาสตร์
กิจกรรมบ้านนักวิทยาศาสตร์น้อย
กิจกรรมบ้านนักวิทยาศาสตร์น้อย
กิจกรรมที่ 16 เรื่อง ปริมาณน้ำในแก้วเท่ากันหรือไม่

ปัญหา/สมมติฐาน
1.เมื่อเทน้ำใส่ภาชนะที่ต่างกันจะเกิดอะไรขึ้น
ขั้นตอนการทำกิจกรรมการทดลอง
1.หาภาชนะที่มีขนาดแตกต่างกัน 3 ขนาด
2.ใส่น้ำลงไปในภาชนะทั้ง 3 ขนาด โดยใช้แก้วตวงน้ำ เป็น 1 แก้วเท่ากัน
3.ให้เด็กๆสังเกตการเปลี่ยนแปลง
สรุปผลการทดลอง
น้ำในภาชนะทุกใบ มีปริมาณน้ำที่เท่ากันเพราะน้ำในแก้วที่เทใส่ภาชนะเป็นขนาดเดียวกัน
กิจกรรมที่ 17 เรื่อง ลูกข่างหลากสี

ปัญหา/สมมติฐาน
1.ถ้าหมุนลูกข่างแล้วจะเกิดสีอะไรขึ้นบ้าง
ขั้นตอนการทำกิจกรรมการทดลอง
1.ตัดกระดาษเป็นรูปวงกลม ติดลูกปิงปองให้อยู่จุดศูนย์กลางของแผ่นวงกลม
2.ตกแต่งระบายสีบนแผ่นวงกลมให้สวยงาม
3.ทดลองเล่น และให้เด็กๆสังเกตสีที่อยู่บนแผ่นวงกลมว่าเห็นสีอะไรบ้าง
สรุปผลการทดลอง
เมื่อหมุนลูกข่างหลากสีแล้วจะเห็นเพียงสามสี ที่เป็นแม่สีเพียงเท่านั้น
1.ถ้าหมุนลูกข่างแล้วจะเกิดสีอะไรขึ้นบ้าง
ขั้นตอนการทำกิจกรรมการทดลอง
1.ตัดกระดาษเป็นรูปวงกลม ติดลูกปิงปองให้อยู่จุดศูนย์กลางของแผ่นวงกลม
2.ตกแต่งระบายสีบนแผ่นวงกลมให้สวยงาม
3.ทดลองเล่น และให้เด็กๆสังเกตสีที่อยู่บนแผ่นวงกลมว่าเห็นสีอะไรบ้าง
สรุปผลการทดลอง
เมื่อหมุนลูกข่างหลากสีแล้วจะเห็นเพียงสามสี ที่เป็นแม่สีเพียงเท่านั้น
กิจกรรมที่ 18 เรื่อง เครื่องชั่งน้ำหนักจากไม้แขวนเสื้อ

ปัญหา/สมมติฐาน
1.ถ้าใส่ของลงไปในตะกร้าทั้งสองข้างจะเกิดอะไรขึ้น
ขั้นตอนการทำกิจกรรมการทดลอง
1.นำไม้แขวนเสื้อมา 1 ไม้ แล้วนำแก้วน้ำผูกติดกับไม้แขวนเสื้อทั้งสองฝั่ง
2.นำสิ่งของ 2 สิ่งอย่างที่มีขนาดน้ำหนักแตกต่างกันใส่ลงไปในแก้วน้ำทั้งสองฝั่ง
3.สังเกตการเปลี่ยนแปลงของแก้วน้ำว่าเบี่ยงไปทางไหนมากที่สุด
สรุปผลการทดลอง
สิ่งของต่างๆทุกอย่างมีน้ำหนักที่แตกต่างกันไป
Assessment (การประเมิน)
-ตนเอง เข้าเรียนตรงเวลา จดรายละเอียดของแต่ละงาน ที่อาจารย์อธิบาย
-อาจารย์ แจกแจงงานแต่ละงานได้อย่างครอบคลุม และละเอียด
-เพื่อน ตั้งใจฟังแต่มีคุยกันบ้าง
-บรรยากาศ ห้องเรียนเย็นสบาย เหมาะแก่การเรียน

ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น