วันอังคารที่ 6 พฤศจิกายน พ.ศ. 2561

Learning media 6


Learning media 6



วันนี้อาจารย์ให้นักศึกษาแต่ละคนออกมาทดลองกิจกรรมวิทยาศาสตร์บ้านนักวิทยาศาสตร์น้อยโดยอาจารย์ได้ให้คำแนะนำดังนี้

1.ครูต้องเตรียมวัสดุ-อุปกรณ์ให้เรียบร้อยและพร้อมต่อการเรียนรู้โดยเรียงลำดับจากอุปกรณ์ชิ้นที่เล็กไปยังชิ้นใหญ่ และควรติดป้ายชื่อหรือหมายเลขให้เด็กได้สังเกตและเกิดความเข้าใจ

2.ครูต้องอธิบายให้เด็กเข้าใจเมื่อเด็กเกิดข้อสงสัยในอุปกรณ์หรือวัสดุต่างๆที่ครูเตรียมไว้ และครูควรเร้าความสนใจของเด็กๆโดยการถามเด็กๆว่า เช่นๆ เด็กคิดว่าอุปกรณ์หรือสิ่งของนี้นำไปทำอะไรได้บ้าง และเด็กๆคิดว่ามีประโยชน์อย่างไรบ้าง เพื่อให้เด็กเกิดกระบวนการเรียนรู้

3.ครูควรให้เด็กๆมีส่วนร่วมในการทำกิจกรรมการทดลองวิทยาศาสตร์ เพื่อให้เกิดความสนุกสนาน

(1) กิจกรรมปั๊มขวดและลิฟต์เทียน
นำเสนอโดย นางสาวรุ่งฤดี โสดา 

จุดประสงค์ 
1. เด็กๆบอกได้ว่าอากาศร้อนกับอากาศเเย็น มีความต้องการที่อยู่แตกต่างกัน
2. เด็กๆบอกได้ว่า การจุดไฟต้องจุดในที่ที่มีออกซิเจน เมื่อออกซิเจนถูกใชใ้นการเผาไหมจนหมดไฟดับ

อุปกรณ์ในการทดลอง
น้ำร้อนและน้ำเย็น 2. สีผสมอาหาร 3.ถังน้ำหรืออ่างน้า และเหยือกตวงน้า
4. ไม้ขีดไฟ 5. เทียนถ้วย 6.ขวดพลาสติก 7.แก้วน้า 8. จานพลาสติก

สมมติฐาน/ปัญหา
-ขวดน้ำที่ร้อนจะเกิดอะไรขึ้นบ้าง
-น้ำสีจะเกิดอะไรขึ้นกับเทียนที่จุดไฟ

ขั้นตอนการทดลอง
การทดลองที่1 เขย่าขวดน้ำที่ร้อนแล้วเทน้ำร้อนออกเทน้ำสีลงใส่จานที่1จากนั้นคว่ำปากขวดลงบนจาน
การทดลองที่2 เทน้ำสีลงจานที่2จุดเทียนวางไว้ในจาน จากนั้นนำแก้วมาครอบปิดเทียนที่จุดไว้

สรุปผลการทดลอง
-เมื่ออุณหภูมิสูงขึ้นอากาศจะลอยขึ้นไปบนขวดทำให้น้ำเข้าไปแทนที่
-เมื่ออุณหภูมิสูงขึ้นอากาศในแก้วก็สูงขึ้นตามน้ำจึงเข้าไปแทนที่ทำให้ไฟดับลง

(2)กิจกรรมเมล็ดพืขเต้นได้
นำเสนอโดย นางสาวปริชดา นิราศรพจรัส


อุปกรณ์ในการทดลอง
-น้ำโซดา
-น้ำเปล่า
-แก้ว
-ช้อนตวง

สมมติฐาน/ปัญหา
1.โซดาที่เทลงไปในแก้งจะเกิดอะไรขึ้นกับถั่ว
2.น้ำที่เทลงไปในแก้วจะเกิดอะไรขึ้นกับถั่ว
ขั้นตอนการทดลอง
-แก้วใบที่1ใส่ถั่วโดยใช้ช้อนตวงจากนั้นเทโซดาลงไปในแก้ว
-แก้วใบที่2ใส่ถั่วลงไปโดยใช้ช้อนตวงให้เท่ากับแก้วใบที่1จากนั้นเทน้ำลงไปในแก้ว
สรุปผลการทดลอง
*ในโซดามีแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์มีน้ำหนักเบากว่าน้ำจึงทำให้เมล็ดถั่วเกิดการลอยตัว

(3) กิจกรรมแรงตึงผิว
นำเสนอโดย นางสาววัชรา ค้าสุกร
อุปกรณ์ในการทดลอง
1.  แก้วน้ำ                                
2.  ถาด  (เพื่อรองน้ำล้น)
3.  หลอดหยด

สิ่งที่พบเห็นในชีวิตประจำวัน
 เมื่อน้ำยาล้างจานไปหยดลงบนเนินน้ำ  น้ำยาล้างจานจะขัดขวางแรงดึงดูดระหว่างโมเลกุลของน้ำทำให้เนินถูกทำลาย  และน้ำจะล้นออกจากแก้ว โดยอาจนำไปเปรียบเทียบกับสิ่งที่พบเห็นในชีวิตประจำวัน  เช่น หยดน้ำที่เกาะอยู่บนบัว
ขั้นตอนการทดลอง
-เมื่อใส่น้ำลงในแล้วจนเกือบเต็ม ใช้หลอดหยดค่อยๆ หยดน้ำลงในแก้วทีละหยด จนเกือบล้นแก้ว แต่ไม่ล้นออกมา จะเกิดรอยนูนของน้ำขึ้นตรงกลางแก้วเรียกว่า เนินน้ำ เนินน้ำเกิดจากโมเลกุลหน่วยเล็กๆ ของน้ำจับตัวกันอย่างหนาแน่นทำให้เกิดแรงตึงผิวน้ำนูนขึ้นและยึดกันไว้ไม่ให้น้ำล้นออกมา
สรุปผลการทดลอง
**น้ำมีแรงตึงผิวจึงทำให้น้ำไม่สามารถล้นออกมาและทำให้สัตว์บางชนิดเดินบนผิวน้ำได้

(4) กิจกรรมเรื่องแสง
นำเสนอโดย นางสาวปิยธิดา ประเสริฐสัง 


สมมติฐาน/ปัญหา
       1.ถ้านำไฟฉายมาส่องแก้วน้ำจะเกิดอะไรขึ้น


อุปกรณ์การทดลอง
-ไฟฉาย-แก้ว

ขั้นตอนการทดลอง  นำวัตถุ 2 ชิ้นมาวางหน้าฉาก และมีระยะห่างระหว่างวัตถุ จากนั้นนำไฟฉายส่องไปที่วัตถุทั้ง 2 ชิ้น และให้นักเรียนสังเกตุขนาดของเงา เงาจะเกิดขึ้นเมื่อมีแสงส่องไปยังวัตถุทึบแสง เนื่องจากแสงเดินทางเป็นเส้นตรง การตัดกันของความสว่างกับความมืดจะทำให้เกิดเงา เงาที่เกิดขึ้นหลังจากการนำไฟฉายส่งวัตถุทั้ง 2 ชิ้น ที่ตั้งห่างกันจะมีขนาดไม่เท่ากัน วัตถุที่ตั้งใกล้แหล่งกำเนิดแสงจะมีเงาที่ใหญ่กว่า

สรุปผลการทดลอง
1.เมื่อส่องไฟฉายไปที่แก้ว แสงจะไปตกกระทบที่แก้วแล้วเกิดแสงขึ้นมา
2.เมื่อส่องไฟฉายไปที่แก้วใบที่ 1 และแก้วใบที่ 2  พร้อมกัน  แก้วใบที่ 1 จะเกิดแสงใหญ่กว่ากว่าแก้วใบที่ 2 เพราะแก้วใบที่ 1 อยู่ใกล้แสงมากกว่าแก้วใบที่ 2


(5) กิจกรรมเรื่องกระจกเงา

นำเสนอโดย นางสาวสุดารัตน อาสนามิ






สมมติฐาน/ปัญหา

-ถ้าวาดรูปใส่กระดาษแล้วไปส่องกับกระจกจะเกิดอะไรขึ้น

อุปกรณ์การทดลอง
-กระดาษ
-กระจกเงา

ขั้นตอนการทดลอง
-วาดภาพใดก็ได้เพียงแค่ครึ่งภาพ และนำมาส่องกับกระจกจะเห็นภาพนั้นเต็มภาพเพราะกระจกมีเงาสะท้อน

สรุปผลการทดลอง
 -เกิดการสะท้อนของเงารูปภาพไปอีกฝั่ง จึงทำให้เห็นรูปภาพที่เต็มขนาด



(6)กิจกรรมไหลแรงหรือไหลค่อย
นำเสนอโดย นางสาวกฤษณา กบขุนทด

สมมติฐาน/ปัญหา

-เมื่อเจาะรูบนขวดน้ำ น้ำจะไหลออกมาได้เร็วหรือช้า



อุปกรณ์การทดลอง

-ขวดน้ำ
-เทปใส
-ที่เจาะรู้

ขั้นตอนการทดลอง

-นำขวดน้ำ เจาะรูข้างบนและข้างล่าง จากนั้นนำสก็อตเทปทั้งสองรู และใส่นำให้เต็ม นำขวดมาวางในถาดดึงสก็อตเทปออก และให้นักเรียนสังเกตว่าน้ำจะออกจากรูไหนเร็วกว่ากัน
จากการทดลองจะเห็นว่า รูด้านล่างจะมีปรมิมาณน้ำออกจากขวดมากกว่า  

สรุปผลการทดลอง
         รูทีอยู่ด้านล่าง น้ำจะไหลออกมาได้เร็วกว่ารูที่อยู่ข้างบน  เพราะรูข้างล่าง





Assessment (การประเมิน)



-ตนเอง  เข้าเรียนตรงเวลา จดรายละเอียดการทดลอง และที่อาจารย์อธิบาย
-อาจารย์  แจกแจงงานแต่ละงานได้อย่างครอบคลุม และละเอียด
-เพื่อน    ตั้งใจนำเสนอการทดลอง





ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น