วันศุกร์ที่ 7 ธันวาคม พ.ศ. 2561

Learning media 12



Learning media 12

วันนี้อาจารย์พานักศึกษาไปจัดกิจกรรมบ้านนักวิทยาศาสตร์ที่ศูนย์เด็กปฐมวัยเสือใหญ่

ทุกคนเดินไปด้วยความสุขใจอาจารย์ก็เดินไปพร้อมกับพวกเราเพราะอยากไปจัดกิจกรรมให้กับน้องๆ



หลังจากที่พวกเราไปถึงอาจารย์ได้แบ่งกลุ่มเด็กออกเป็น 8-10 คน เพื่อความสะดวกและเวียนไปแต่ละ
ฐานเด็กๆตื่นเต้นเมื่อเห็นพวกเราไปถึงโดยอาจารย์ให้พวกเราถามน้องๆเกี่ยวกับอุปกรณ์ว่าพี่ๆเอามาทำอะไรกันบ้างในวันนี้ เพื่อรู้ถึงประสบการณ์เดิมของน้องๆ ในการเข้าฐานละ15 นาทีโดยมีแต่ละฐาน ดังนี่


 ฐานที่ 1  กิจกรรม ลูกโป่งพองโต








ปัญหา/สมมติฐาน 

           1.เบคกิ้งโซดากับน้ำส้มสายชูเมื่อผสมกันแล้วจะเกิดอะไรขึ้น

ขั้นตอนการทำกิจกรรมการทดลอง
           1.นำเบคกิ้งโซดาใส่ในลูกโป่ง
           2.นำน้ำส้มสายชูใส่ในขวดน้ำครึ่งขวด
           3.นำลูกโป่งมาสวมเข้ากับขวดน้ำ

สรุปผลการทดลอง
         เมื่อผสมเบคกิ้งโซดากับน้ำส้มสายชูแล้วอากาศจะลอยเข้าไปในลูกโป่งทำให้ลุกโป่งพองโต



 ฐานที่ 2 กิจกรรม ปั้มขวดและลิปต์เทียน   






สมมติฐาน/ปัญหา
     1.ขวดน้ำที่ร้อนจะเกิดอะไรขึ้นบ้างกับน้ำสี
     2.น้ำสีจะเกิดอะไรขึ้นกับเทียนที่จุดไฟ

ขั้นตอนการทำกิจกรรมการทดลอง
       การทดลองที่   1 เขย่าขวดน้ำที่ร้อนแล้วเทน้ำร้อนออก   เทน้ำสีลงใส่จานที่ 1  จากนั้นคว่ำปากขวดลงบนจาน
       การทดลองที่   2 เทน้ำสีลงบนจานที่ 2  จุดเทียนวางไว้ในจาน   จากนั้นนำแก้วมาครอบ                   ปิดเทียนที่จุดไว้

สรุปผลการทดลอง
       การทดลองที่  1 เมื่ออุณหภูมิสูงขึ้นอากาศก็จะลอยขึ้นไปบนขวด ทำให้น้ำเข้าไปแทนที่
       การทดลองที่ 2  เมื่ออุณหภูมิสูงขึ้นอากาศในแก้วก็สสูงข้ึนตาม น้ำจึงเข้าไปแทนที่ทำให้ไฟดับลง


ฐานที่่ 3กิจกรรม เรือดำนำ







ปัญหา/สมมติฐาน 


              1.เมื่อเอาขวดกดลงไปในแก้วน้ำแล้วจะเกิดอะไรขึ้น

ขั้นตอนการทำกิจกรรมการทดลอง
              การทดลองที่ 1 จุ่มขวดลงไปในแก้วน้ำ เปิดฝาออกแล้วสังเกตการเปลี่ยนแปลง
              การทดลองที่ 2 เอาเรือที่จำลองมาจุ่มลงไปในแก้วน้ำ เปิดฝาออกแล้วสังเกตการเปลี่ยนแปลง

สรุปผลการทดลอง
              การทดลองที่ 1 อากาศลอยขึ้นมาบนแก้วแล้วน้ำจึงเข้าไปแทนที่ในขวด เพราะอากาศมีแรงดัน
              การทดลองที่ 2 อากาศลอยขึ้นมาบนแก้วแล้วน้ำจึงเข้าไปแทนที่ในขวด อากาศจึงดันเรือขึ้นไปและเรือก็ไม่เปียกน้ำ





 ฐานที่ 5 กิจกรรม Shape of  Bub-Bub Bubble 





ปัญหา/สมมติฐาน 

         1.น้ำกับน้ำยาล้างจานเมื่อผสมกันจะเกิดอะไรขึ้น

ขั้นตอนการทำกิจกรรมการทดลอง
          1.เทน้ำใส่กะละมัง  1/4  ของขวดน้ำ และผสมน้ำยาล้างจาน  5 ช้อน คนให้เข้ากัน
          2.ดัดลวดเป็นรูปทรงต่างๆ 
          3.นำลวดที่ดัดเป็นรูปทรงต่างๆ พันกับลวดกำมะหยี่
          4.นำลวดรูปทรงที่ตัด มาจุ่มน้ำในกะละมัง แล้วยกขึ้นมาเป่าเบาๆ

สรุปผลการทดลอง
           เมื่อผสมน้ำกับน้ำยาล้างจานแล้วเป่าจะเกิดฟองขึ้นมา  เพราะในน้ำยาล้างจานมีพื้นผิวที่ลื่นจึงทำให้เกิดฟองขึ้นมา

ฐานที่5 กิจกรรมลาวาปะทะภูเขาไฟ







และหลังจากที่พวกเราทำกิจกรรมเสร็จพบว่าน้องๆเกิดความสนุกสนานบางคนตอบคำถามเก่งมาก
บางคนก็ตอบได้บ้างไม่ได้บ้างแต่รู้สึกภูมิใจที่ได้มาทำกิจกรรมให้เด็กขอขอบคุณอาจารย์ที่พาพวกเรามาจัดกิจกรรมแบบนี้ถ้ามีโอกาสพวกเราก็อยากมาจัดกิจกรรมที่นี่อีกมีความสุขมาก









Learning media 11



Learning media 10



วันนี้อาจารย์มอบหมายงานให้นักศึกษาทำแผงผัง mind mapping 
กลุ่มละ 1 หน่วย กลุ่มดิฉันเลือกหน่วย "มหัศจรรย์ รอบตัวเรา"




หน่วยการเรียนรู้เรื่อง  "มหัศจรรย์ รอบตัวเรา"

ตัวเรา                                           
ส่วนประกอบของร่ายกาย
-อวัยวะภายใน-อวัยวะภานนอก-การดูแลรักษาการเจริญเติบโต-อาการ-การอกกำลังกาย-สภาพแวดล้อม
การแต่งกาย
-วิถีชีวิต สังคม
-โอกาสสถานที่
-ตามฤดูกาล

สิ่งมีชีวิต

มนุษย์
-หน้าที่ของอวัยวะ
-ความสำคัญของอวัยวะ
สัตว์
-มีกระดูกสันหลัง
-ไม่มีกระดูกสันหลัง
-ลักษณะของสัตว์
-ประโยชน์ของสัตว์
พืช
-ไม้ยืนต้น
-ไม้ดอกไม้ประดับ
-สมุนไพร

วัฒนธรรม

ประชากร
-เชื้อชาติ ศาสนา
-ชนเผ่า
-ความขัดแย้ง

Assessment (การประเมิน)




ประเมินตนเอง  : ได้ศึกษาค้นคว้าด้วยตนองและได้เรียนรู้ในเรื่องสวนสัตว์ประเมินเพื่อน    :เพื่อนตั้งใจทำงานที่อาจาย์มอบหมาย
ประเมินอาจารย์ : อธิบายได้เข้าใจดีค่ะ






Learning media 10



Learning media 10

อาจารย์ให้เปิดวิดีโอกิจกรรมบ้านนักวิทยาศาสตร์น้อย



1. กิจกรรม  Shape of Bub-Bub Bubble

2. กิจกรรม  ลาวาปะทุ ภูเขาไฟระเบิด
3.  กิจกรรม ลูกโปงพองโต
4.  กิจกรรม เรือดำนำ
5. กิจกรรม ปั้มขวดและลิปต์เทียน



กลุ่มที่  1  ฐานกิจกรรม  เรื่อง  Shape  of  Bub-Bub Bubble




กลุ่มที่  2  ฐานกิจกรรม  เรื่อง  ลาวาปะทุ ภูเขาไฟระเบิด



กลุ่มที่  3  ฐานกิจกรรม  เรื่อง  ลูกโปงพองโต




กลุ่มที่  4  ฐานกิจกรรม  เรื่อง  เรือดำนำ


กลุ่มที่  5 ฐานกิจกรรม  เรื่อง ปั้มขวดและลิปต์เทียน




สิ่งที่ต้องปรับปรุงแก้ไข

1.การอ่านการทดลองก่อนและใช้ไม้ชี้ตามเพราะเด็กจะได้จำได้
2.การติดป้ายชื่อหรือสัญลักลักษร์ในสิ่งที่ทำมาทดลอง
3.การตั้งสมมติฐานเพื่อให้เด็กเกิดความอยากรู้อยากเห็น
4.หลังจากทดลองเสร็จควรพูดสรุปให้เด็กเกิดการเรียนรู้และเข้าใจ




Assessment (การประเมิน)


-ตนเอง  เข้าเรียนตรงเวลา จดรายละเอียดของแต่ละงาน ที่อาจารย์อธิบาย
-อาจารย์  แจกแจงงานแต่ละงานได้อย่างครอบคลุม และละเอียด
-เพื่อน     ตั้งใจฟังแต่มีคุยกันบ้าง
-บรรยากาศ  ห้องเรียนเย็นสบาย เหมาะแก่การเรียน








วันจันทร์ที่ 3 ธันวาคม พ.ศ. 2561

Learning media 9



Learning media 9








วันนี้อาจารย์อธิบายรายละเอียดและกระบวนการจักกิจกรรมให้เด็กดังนี้

สาระการที่ควรเรียนรู้

เด็กช่วงอายุ 2 – 3 ปี เน้นการจัดประสบการณ์ผ่านการเล่นตามธรรมชาติที่เหมาะสมกับวัยอย่างเป็นองค์รวม ทั้งทางด้านร่างกาย อารมณ์ จิตใจ สังคม และสติปัญญา โดยจัดกิจกรรรมให้สอดคล้องกับความต้องการ ความสนใจ และความสามารถตามวัยของเด็ก ทั้งนี้ เด็กในช่วงวัยนี้จะมีพัฒนาการเพิ่มขึ้นมากกว่าในช่วงแรก เด็กมีการพึ่งพาตนเอง แสดงความเป็นตัวของตัวเอง จึงจำเป็นต้องคำนึงถึงสาระการเรียนรู้ที่ประกอบด้วยประสบการณ์สำคัญและสาระที่ควรเรียนรู้ ตลอดจนส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรมเพื่อเป็นพื้นฐานการเรียนรู้ในระดับที่สูงขึ้นไป 

 1.) เรื่องราวเกี่ยวกับตัวเด็ก เด็กควรเรียนรู้เกี่ยวกับชื่อและเพศของตนเอง การเรียกชื่อส่วนต่างๆ ของใบหน้าและร่างกาย การดูแลตนเองเบื้องต้นโดยมีผู้ใหญ่ให้การช่วยเหลือ การล้างมือ การขับถ่าย การรับประทานอาหาร การถอดและสวมใส่เสื้อผ้า การรักษาความปลอดภัย และการนอนหลับพักผ่อน 

2.) เรื่องราวเกี่ยวกับบุคคลและสถานที่แวดล้อมเด็ก เด็กควรเรียนรู้เกี่ยวกับบุคคลภายในครอบครัวและบุคคลภายนอกครอบครัว การรู้จักชื่อเรียกหรือสรรพนามแทนตัวของญาติหรือผู้เลี้ยงดู วิธีปฏิบัติกับผู้อื่นอย่างเหมาะสม การทักทายด้วยการไหว้ การเล่นกับพี่น้องในบ้าน การไปเที่ยวตลาดและสถานที่ต่างๆ ในชุมชน การเล่นที่สนามเด็กเล่น การเข้าร่วมกิจกรรมทางศาสนา วัฒนธรรม และประเพณี

3.) ธรรมชาติรอบตัว เด็กควรเรียนรู้เกี่ยวกับการสำรวจสิ่งต่างๆ ในธรรมชาติรอบตัว เช่น สัตว์ พืช ดอกไม้ ใบไม้ ผ่านการใช้ประสาทสัมผัสทั้งห้า การเล่นน้ำเล่นทราย การเลี้ยงสัตว์ต่างๆ ที่ไม่เป็นอันตราย การเดินเล่นในสวน การเพาะปลูกอย่างง่าย แนวคิดที่ควรให้เกิดหลังจากเด็กเรียนรู้ธรรมชาติรอบตัว

  ต่อมาอาจารย์ได้ให้เพื่อนๆที่อัดคลิปวีดีโอการทดลองวิทยาศาสตร์
กิจกรรมบ้านนักวิทยาศาสตร์น้อย 

กิจกรรมที่  16  เรื่อง ปริมาณน้ำในแก้วเท่ากันหรือไม่ 




ปัญหา/สมมติฐาน
        1.เมื่อเทน้ำใส่ภาชนะที่ต่างกันจะเกิดอะไรขึ้น

ขั้นตอนการทำกิจกรรมการทดลอง
        1.หาภาชนะที่มีขนาดแตกต่างกัน  3  ขนาด 
        2.ใส่น้ำลงไปในภาชนะทั้ง 3 ขนาด โดยใช้แก้วตวงน้ำ เป็น 1 แก้วเท่ากัน 
        3.ให้เด็กๆสังเกตการเปลี่ยนแปลง 

สรุปผลการทดลอง
        น้ำในภาชนะทุกใบ มีปริมาณน้ำที่เท่ากันเพราะน้ำในแก้วที่เทใส่ภาชนะเป็นขนาดเดียวกัน


กิจกรรมที่ 17  เรื่อง ลูกข่างหลากสี


ปัญหา/สมมติฐาน
          1.ถ้าหมุนลูกข่างแล้วจะเกิดสีอะไรขึ้นบ้าง

ขั้นตอนการทำกิจกรรมการทดลอง
          1.ตัดกระดาษเป็นรูปวงกลม  ติดลูกปิงปองให้อยู่จุดศูนย์กลางของแผ่นวงกลม
          2.ตกแต่งระบายสีบนแผ่นวงกลมให้สวยงาม
          3.ทดลองเล่น และให้เด็กๆสังเกตสีที่อยู่บนแผ่นวงกลมว่าเห็นสีอะไรบ้าง

สรุปผลการทดลอง
         เมื่อหมุนลูกข่างหลากสีแล้วจะเห็นเพียงสามสี ที่เป็นแม่สีเพียงเท่านั้น


กิจกรรมที่  18  เรื่อง  เครื่องชั่งน้ำหนักจากไม้แขวนเสื้อ



ปัญหา/สมมติฐาน
        1.ถ้าใส่ของลงไปในตะกร้าทั้งสองข้างจะเกิดอะไรขึ้น

ขั้นตอนการทำกิจกรรมการทดลอง
        1.นำไม้แขวนเสื้อมา 1 ไม้  แล้วนำแก้วน้ำผูกติดกับไม้แขวนเสื้อทั้งสองฝั่ง
        2.นำสิ่งของ 2 สิ่งอย่างที่มีขนาดน้ำหนักแตกต่างกันใส่ลงไปในแก้วน้ำทั้งสองฝั่ง
        3.สังเกตการเปลี่ยนแปลงของแก้วน้ำว่าเบี่ยงไปทางไหนมากที่สุด 

สรุปผลการทดลอง
       สิ่งของต่างๆทุกอย่างมีน้ำหนักที่แตกต่างกันไป


Assessment (การประเมิน)


-ตนเอง  เข้าเรียนตรงเวลา จดรายละเอียดของแต่ละงาน ที่อาจารย์อธิบาย
-อาจารย์  แจกแจงงานแต่ละงานได้อย่างครอบคลุม และละเอียด
-เพื่อน     ตั้งใจฟังแต่มีคุยกันบ้าง
-บรรยากาศ  ห้องเรียนเย็นสบาย เหมาะแก่การเรียน