Learning media 4

วันนี้ก่อนเข้าสู่บทเรียนอาจารย์ได้พูดและอธิบายถึงเรื่อง การจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย และความหมายลักลัษณะพัฒนาการ หมายถึง การเปลี่ยนแปลงที่เป็นไปตามลำดับขั้นตอนอย่างต่อเนื่องตามขั้นบันได ความสามารถของเด็กที่แสดงออกในแต่ละช่วงอายุ) เพื่อนำไปจัดประสบการณ์ให้เหมาะกับช่วงอายุของเด็กปฐมวัย และอาจารย์ได้กล่าวถึงทฤษฎี ของเพียเจย์ บรุนเนอร์ มาสโลว์
โควเบริกดังนี้
พัฒนาการทางสติปัญญาของบุคคลเป็นไปตามวัยต่าง ๆ เป็นลำดับขั้น ดังนี้
- ขั้นประสาทรับรู้และการเคลื่อนไหว (Sensori-Motor Stage) ขั้นนี้เริ่มตั้งแต่แรกเกิดจนถึง 2 ปี พฤติกรรมของเด็กในวัยนี้ขึ้นอยู่กับการเคลื่อนไหวเป็นส่วนใหญ่ เช่น การไขว่คว้า การเคลื่อนไหว การมอง การดู ในวัยนี้เด็กแสดงออกทางด้านร่างกายให้เห็นว่ามีสติปัญญาด้วยการกระทำ เด็กสามารถแก้ปัญหาได้ แม้ว่าจะไม่สามารถอธิบายได้ด้วยคำพูด เด็กจะต้องมีโอกาสที่จะปะทะกับสิ่งแวดล้อมด้วยตนเอง ซึ่งถือว่าเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับพัฒนาการด้านสติปัญญาและความคิดในขั้นนี้ มีความคิดความเข้าใจของเด็กจะก้าวหน้าอย่างรวดเร็ว
- ขั้นก่อนปฏิบัติการคิด (Preoperational Stage) ขั้นนี้เริ่มตั้งแต่อายุ 2-7 ปี แบ่งออกเป็นขั้นย่อยอีก 2 ขั้น คือ
-- ขั้นก่อนเกิดสังกัป (Preconceptual Thought) เป็นขั้นพัฒนาการของเด็กอายุ 2-4 ปี เป็นช่วงที่เด็กเริ่มมีเหตุผลเบื้องต้น สามารถจะโยงความสัมพันธ์ระหว่างเหตุการณ์ 2 เหตุการณ์ หรือมากกว่ามาเป็นเหตุผลเกี่ยวโยงซึ่งกันและกัน แต่เหตุผลของเด็กวัยนี้ยังมีขอบเขตจำกัดอยู่ เพราะเด็กยังคงยึดตนเองเป็นศูนย์กลาง
-- ขั้นการคิดแบบญาณหยั่งรู้ นึกออกเองโดยไม่ใช้เหตุผล (Intuitive Thought) เป็นขั้นพัฒนาการของเด็ก อายุ 4-7 ปี ขั้นนี้เด็กจะเกิดความคิดรวบยอดเกี่ยวกับสิ่งต่างๆ รวมตัวดีขึ้น รู้จักแยกประเภทและแยกชิ้นส่วนของวัตถุ เข้าใจความหมายของจำนวนเลข เริ่มมีพัฒนาการเกี่ยวกับการอนุรักษ์ แต่ไม่แจ่มชัดนัก สามารถแก้ปัญหาเฉพาะหน้าได้ - ขั้นปฏิบัติการคิดด้านรูปธรรม (Concrete Operation Stage) ขั้นนี้จะเริ่มจากอายุ 7-11 ปี พัฒนาการทางด้านสติปัญญาและความคิดของเด็กวัยนี้สามารถสร้างกฎเกณฑ์และตั้งเกณฑ์ในการแบ่งสิ่งแวดล้อมออกเป็นหมวดหมู่ได้ เด็กวัยนี้สามารถที่จะเข้าใจเหตุผล รู้จักการแก้ปัญหาสิ่งต่างๆ ที่เป็นรูปธรรมได้
- ขั้นปฏิบัติการคิดด้วยนามธรรม (Formal Operational Stage) นี้จะเริ่มจากอายุ 11-15 ปี ในขั้นนี้พัฒนาการทางสติปัญญาและความคิดของเด็กวัยนี้เป็นขั้นสุดยอด คือเด็กในวัยนี้จะเริ่มคิดแบบผู้ใหญ่ ความคิดแบบเด็กจะสิ้นสุดลง
ทฤษฎีพัฒนาการทางสติปัญญาของบรุนเนอร์
- ขั้นการเรียนรู้จากการกระทำ (Enactive Stage) คือ ขั้นของการเรียนรู้จากการใช้ประสาทสัมผัสรับรู้สิ่งต่าง ๆ การลงมือกระทำช่วยให้เด็กเกิดการเรียนรู้ดี การเรียนรู้เกิดจากการกระทำ
- ขั้นการเรียนรู้จากความคิด (Iconic Stage) เป็นขั้นที่เด็กสามารถสร้างมโนภาพในใจได้ และสามารถเรียนรู้จากภาพแทนของจริงได้
- ขั้นการเรียนรู้สัญลักษณ์และนามธรรม (Symbolic Stage) เป็นขั้นการเรียนรู้สิ่งที่ซับซ้อนและเป็นนามธรรมได้
ทฤษฎีความต้องการตามลำดับขั้นของมาสโลว์(Hierarchy of Needs)
1.ความต้องการทางสรีระ(Physiological Needs)
2. ความต้องการความมั่นคงปลอดภัย (Safety Needs
3.ความต้องการความรักและเป็นส่วนหนึ่งของหมู่คณะ (Love and belonging Needs
4. ความต้องการที่จะรู้สึกว่าตนเองมีค่า (Esteem Needs)
5. ความต้องการที่จะรู้จักตนเองตามสภาพที่แท้จริง และพัฒนาศักยภาพของตน (Self-Actualization Needs)
ทฤษฏีพัฒนาจริยธรรมของโคลเบิร์ก
แนวคิดของโคลเบิร์ก (Kolberg) ใกล้คียงกับเพียเจต์ ( Piaget) คือเชื่อว่าพัฒนาการทางจริยธรรมของมนุษย์พัฒนาการได้ตามวัย และวุฒิภาวะทางสติปัญญา พัฒนาการทางจริยธรรมของมนุษย์ไม่ใช่การป้อนรูปแบบ กล่าวคือดูรูปหนึ่งจบแล้ว ดูอีกรูปหนึ่งโดยที่รูปแรกไม่ปรากฏในสายตาอีกต่อไป แต่พัฒนาการของมนุษย์จะค่อยๆพัฒนาไปตามวัน เวลา เจริญขึ้นเรื่อย ๆ
วิทยาศาสตร์
วิทยาศาสตร์ หมายถึงสิ่งต่างที่อยู่รอบตัวเรา ที่สามารถนำมาเรียนรู้และประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันของเรา
ความสำคัญของวิทยาศาสตร์
ได้แก่ การใช้เทคโนโลยีต่างๆ ใช้สร้างเครื่องมือทางการแพทย์ การเพาะปลูกขยายพันธุ์ และส่งผลต่อการดำรงชีวิตของมนุษย์
ได้แก่ การใช้เทคโนโลยีต่างๆ ใช้สร้างเครื่องมือทางการแพทย์ การเพาะปลูกขยายพันธุ์ และส่งผลต่อการดำรงชีวิตของมนุษย์
ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์
เป็นทักษะที่ส่งเสริมให้เด็กสามารถคิดหาเหตุผล แสวงหาความรู้ แก้ไขปัญหาได้ตามวัยของเด็ก ผู้สอนควรจัดกิจกรรมที่ให้เด็กได้ลงมือกระทำตามสิ่งแวดล้อมรอบๆตัวเด็ก
ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย มี 6 ทักษะ ดังนี้
1.ทักษะการสังเกต (Observation)
เป็นการใช้ประสาทสัมผัสทั้ง 5 โดยตรงกับวัตถุ เพื่อมีจุดประสงค์ที่จะหาข้อมูลในรายละเอียดนั้นๆ
เช่น การสังเกตรูปร่างทั่วไป
2.ทักษะการจำแนกประเภท (Classifying)
เป็นความสามารถในการแบ่งประเภทของสิ่งของโดยใช้เกณฑ์ (Criteria)
เช่น ความเหมือน (หมวกที่มีสีเหมือนกัน) ความแตกต่าง (กล่องใบใหญ่-กล่องใบเล็ก) ความสัมพันธ์ร่วม (รูปภาพรถ-ถนน)
3.ทักษะการวัด ( Measurement)
เป็นการใช้เครื่องมือต่างๆ เพื่อวัดหาปณิมาณในสิ่งที่เราต้องการทราบ
เช่น รู้จักกับสิ่งของที่จะวัดเป็นอย่างไร การเลือกเครื่องมือมาวัด วิธีการการวัด
4.ทักษะการสื่อความหมาย (Communication)
เป็นการพูด การเขียน การสร้างรูปภาพและภาษาท่าทาง การแสดงสีหน้า เพื่อให้รับข้อมูลได้อย่างถูกต้อง เช่น ต้องรู้จักลักษณะคุณสมบัติวัตถุ บันทึกการเปลี่ยนแปลง การบอกความสัมพันธ์ของข้อมูลที่จัดทำได้ การจัดทำข้อมูลในรูปแบบต่างๆ
5.ทักษะการลงความเห็นจากข้อมูล (Interring)
เป็นการเพิ่มเติมความคิดเห็นให้กับข้อมูลที่มีอยู่อย่างมีเหตุผล โดยอาศัยความรู้หรือประสบการณ์ต่างๆ เช่น การหาข้อสรุปเกี่ยวกับสิ่งต่างๆ การสรุปความสัมพันธ์สิ่งของต่างๆ การสังเกตการเปลี่ยนแปลงสิ่งต่างๆรอบตัว
6.ทักษะการหาความสัมพันธ์ระหว่างสเปสกับเวลา (Space)
เป็นการเรียนรู้ใน 1 มิติ 2 มิติ 3 มิติ การเขียนภาพ 2 มิติแทนรูป 3 มิติ และการบอกทิศทาง
เช่น การบอกความสัมพันธ์ระหว่างทิศทางกับวัตถุ การบอกตำแหน่งซ้าย-ขวา
การสังเกตภาพ 2 มิติ 3 มิติ
7.ทักษะการคำนวณ (Calculation)
เป็นความสามารถในการนับจำนวนของวัตถุต่างๆ การบวก ลบ คูณ หาร ความยาว ความสูง
เช่น การคำนวณรายรับ-รายจ่าย การคำนวณความยาวของรองเท้า
ทำไมต้องสอนวิทยาศาสตร์
1.มาตราฐานการศึกษาระดับการศึกษาปฐมวัย ได้แก่ มีความสามารถในการคิดวิเคาระห์ สังเคราะห์ วิจารณญาณและมีความคิดสร้างสรรค์
2.หลักสูตรการศึกษาปฐมวัย 2561
3.การนำมาใช้ในชีวิตประจำวัน
สมองกับวิทยาศาสตร์
1.การตีความข้อมูล
2.การเชื่อมโยงความจริงเข้าหากัน
3.การประเมินคุณค่า
4.การจำแนกองค์ประกอบ
คุณสมบัติที่เอื้อตต่อทักาะกระบวนการวิทยาศาสตร์
1.การเข้าใจในสิ่งที่วิเคราะห์
2.การสังเกตและตั้งคำถาม 5W1H
3.การมีความสามารถในการลงความเห็น
4.การหาความสัมพันธ์เชิงเหตุผล
องค์ประกอบการคิดทางวิทยาศาสตร์
1.สิ่งที่กำหนดให้ เช่น การสังเกต การจำแนก
2.หลักการและเกณฑ์การจำแนก คือ ความสัมพันธ์กันในเรื่องใดเรื่องหนึ่ง
3.การค้นหาความจริง คือ การรวบรวมประเด็นเพื่อนำมาสรุป
ความสามรถในการลงความเห็นจากข้อมูล (คำถาม)
การค้นหาคำตอบได้ เช่น อะไรคือสาเหตุที่ทำให้ฝนตก
กระบวนการคิดทางวิทยาศาสตร์
1.การกำหนดสิ่งที่ศึกษา
4.การสรุปผล
เป็นทักษะที่ส่งเสริมให้เด็กสามารถคิดหาเหตุผล แสวงหาความรู้ แก้ไขปัญหาได้ตามวัยของเด็ก ผู้สอนควรจัดกิจกรรมที่ให้เด็กได้ลงมือกระทำตามสิ่งแวดล้อมรอบๆตัวเด็ก
ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย มี 6 ทักษะ ดังนี้
1.ทักษะการสังเกต (Observation)
เป็นการใช้ประสาทสัมผัสทั้ง 5 โดยตรงกับวัตถุ เพื่อมีจุดประสงค์ที่จะหาข้อมูลในรายละเอียดนั้นๆ
เช่น การสังเกตรูปร่างทั่วไป
2.ทักษะการจำแนกประเภท (Classifying)
เป็นความสามารถในการแบ่งประเภทของสิ่งของโดยใช้เกณฑ์ (Criteria)
เช่น ความเหมือน (หมวกที่มีสีเหมือนกัน) ความแตกต่าง (กล่องใบใหญ่-กล่องใบเล็ก) ความสัมพันธ์ร่วม (รูปภาพรถ-ถนน)
3.ทักษะการวัด ( Measurement)
เป็นการใช้เครื่องมือต่างๆ เพื่อวัดหาปณิมาณในสิ่งที่เราต้องการทราบ
เช่น รู้จักกับสิ่งของที่จะวัดเป็นอย่างไร การเลือกเครื่องมือมาวัด วิธีการการวัด
4.ทักษะการสื่อความหมาย (Communication)
เป็นการพูด การเขียน การสร้างรูปภาพและภาษาท่าทาง การแสดงสีหน้า เพื่อให้รับข้อมูลได้อย่างถูกต้อง เช่น ต้องรู้จักลักษณะคุณสมบัติวัตถุ บันทึกการเปลี่ยนแปลง การบอกความสัมพันธ์ของข้อมูลที่จัดทำได้ การจัดทำข้อมูลในรูปแบบต่างๆ
5.ทักษะการลงความเห็นจากข้อมูล (Interring)
เป็นการเพิ่มเติมความคิดเห็นให้กับข้อมูลที่มีอยู่อย่างมีเหตุผล โดยอาศัยความรู้หรือประสบการณ์ต่างๆ เช่น การหาข้อสรุปเกี่ยวกับสิ่งต่างๆ การสรุปความสัมพันธ์สิ่งของต่างๆ การสังเกตการเปลี่ยนแปลงสิ่งต่างๆรอบตัว
6.ทักษะการหาความสัมพันธ์ระหว่างสเปสกับเวลา (Space)
เป็นการเรียนรู้ใน 1 มิติ 2 มิติ 3 มิติ การเขียนภาพ 2 มิติแทนรูป 3 มิติ และการบอกทิศทาง
เช่น การบอกความสัมพันธ์ระหว่างทิศทางกับวัตถุ การบอกตำแหน่งซ้าย-ขวา
การสังเกตภาพ 2 มิติ 3 มิติ
7.ทักษะการคำนวณ (Calculation)
เป็นความสามารถในการนับจำนวนของวัตถุต่างๆ การบวก ลบ คูณ หาร ความยาว ความสูง
เช่น การคำนวณรายรับ-รายจ่าย การคำนวณความยาวของรองเท้า
ทำไมต้องสอนวิทยาศาสตร์
1.มาตราฐานการศึกษาระดับการศึกษาปฐมวัย ได้แก่ มีความสามารถในการคิดวิเคาระห์ สังเคราะห์ วิจารณญาณและมีความคิดสร้างสรรค์
2.หลักสูตรการศึกษาปฐมวัย 2561
3.การนำมาใช้ในชีวิตประจำวัน
สมองกับวิทยาศาสตร์
1.การตีความข้อมูล
2.การเชื่อมโยงความจริงเข้าหากัน
3.การประเมินคุณค่า
4.การจำแนกองค์ประกอบ
คุณสมบัติที่เอื้อตต่อทักาะกระบวนการวิทยาศาสตร์
1.การเข้าใจในสิ่งที่วิเคราะห์
2.การสังเกตและตั้งคำถาม 5W1H
3.การมีความสามารถในการลงความเห็น
4.การหาความสัมพันธ์เชิงเหตุผล
องค์ประกอบการคิดทางวิทยาศาสตร์
1.สิ่งที่กำหนดให้ เช่น การสังเกต การจำแนก
2.หลักการและเกณฑ์การจำแนก คือ ความสัมพันธ์กันในเรื่องใดเรื่องหนึ่ง
3.การค้นหาความจริง คือ การรวบรวมประเด็นเพื่อนำมาสรุป
ความสามรถในการลงความเห็นจากข้อมูล (คำถาม)
การค้นหาคำตอบได้ เช่น อะไรคือสาเหตุที่ทำให้ฝนตก
กระบวนการคิดทางวิทยาศาสตร์
1.การกำหนดสิ่งที่ศึกษา
2.การกำหนดปัญหาหรือวัตถุประสงค์3.การกำหนดหลักเกณฑ์
4.การสรุปผล
บรรยากาศในการเรียน